วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบอาคาร

ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบอาคาร

บทคัดย่อ
การจัดทำบทความ เรื่องความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบอาคาร นี้ได้รวบรวมเนื้อหาที่เป็นความรู้ เกี่ยวกับการหลักการตรวจสอบอาคารและทำให้ ผู้ประกอบการ เจ้าของอาคาร การเข้าใจ การตรวจสอบอาคาร และทราบขั้นตอนการตรวจสอบอาคาร ซึ่งผู้เขียนได้เขียนเป็นรูปภาพเพื่อประกอบการอธิบายข้อกำหนดต่างๆของประเภทอาคารและรูปแบบด้านความปลอดภัย ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
Abstract
Preparation of the article. Knowledge about the building inspection. This collection of content knowledge. About the principles of Building Inspection and the building owners and operators to understand and monitor building And know the consequences of Building Inspection. The authors have written an image for its description of the building regulations and forms security. The legitimacy.

Keyword: การตรวจสอบอาคาร สมรรถนะ


1.บทนำ
การตรวจสอบอาคาร เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้อาคารปลอดภัย หากมีการตรวจสอบอาคารด้วยหลักการที่ถูกต้อง อาคาร ก็จะปลอดภัย แต่หากการตรวจสอบที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม ก็จะทำให้อาคารนั้นเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย และเกิดการสูญเสียมากกว่าที่ควร ความสูญเสีย จากเหตุการณ์ที่ โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ ซึ่งเป็นเหตุให้คนงานเสียชีวิตถึง 200 คน เป็นบทเรียนราคาแพง เป็นตัวอย่าง ของการออกแบบ โดยขาดความรู้เรื่องการทนไฟของโครงสร้างอาคาร และการจัดทางหนีไฟ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้มี ข้อกำหนดเรื่องอัตราการทนไฟ ในกฎกระทรวงฉบับที่ 48 (2540) และทำให้กระทรวงแรงงานฯกำหนดให้วันที่ 8-10 พ.ค. ทุกปี เป็นวันความปลอดภัย เพื่อ ระลึกถึง เหตุการณ์ครั้งนี้ความสูญเสีย จาก เหตุการณ์ที่ โรงแรมรอยัลจอมเทียน พัทยา เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2540 ซึ่งเป็นเหตุให้พนักงาน กฟผ. บ.เสริมสุข และแขกของโรงแรมเสียชีวิต 90 คน บาดเจ็บ 51 คน ก็เป็นบทเรียนหนึ่งที่มีราคาแพง และเป็นอีกตัวอย่างของการออกแบบโดยขาดความรู้เรื่องทางหนีไฟ การปิดล้อมบันได และช่องท่อ ผนังและประตูทนไฟ รวมทั้งระบบป้องกันอัคคีภัย เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้เกิดการพิจารณาปรับปรุงกฎกระทรวง และข้อกำหนดใหม่ๆอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (2540) ที่เน้นเรื่องการให้มีบันไดหนีไฟและการปิดล้อมบันไดโดยมีอัตราการทนไฟไม่ น้อยกว่า 1 ชั่วโมง และเป็นกฎหมายฉบับแรกที่ใช้บังคับกับอาคารเก่า นอกจากนี้ ยังจะทำให้มีข้อกำหนดที่ให้มีการประกันภัยให้กับผู้ใช้อาคาร และข้อบังคับให้มีการตรวจสอบอาคารและการต่ออายุการใช้อาคาร ซึ่งนับเป็นข้อกำหนดที่จะทำให้อาคารจะต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยที่สูงขึ้นและการตรวจสอบอาคาร เป็นกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารซึ่งสามารถทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในทุกๆด้านรวมถึงด้าน สิ่งแวดล้อม กฎหมายควบคุมอาคาร ผังเมือง ชุมชน


รูปที่ 1 เหตุเพลิงไหม้ของอาคารขนาดใหญ่


รูปที่ 2 เหตุวิบัติของอาคารขนาดใหญ่

2. การตรวจสอบอาคาร
2.1 ประเภทอาคารที่ต้องตรวจสอบ
อาคารที่ต้องตรวจสอบมี 9 ประเภท ได้แก่
2.1 อาคารสูง (อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ยี่สิบสามเมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด)

รูปที่ 3 ตัวอย่างแสดงอาคารสูง

2.2 อาคารขนาดใหญ่พิเศษ (อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่หนึ่งหมื่นตารางเมตรขึ้นไป)

รูปที่ 4 ตัวอย่างแสดงอาคารขนาดใหญ่

2.3 อาคารชุมนุมคน (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่หนึ่งพันตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ห้าร้อยคนขึ้นไป)

รูปที่ 5 ตัวอย่างแสดงอาคารชุมนุมชน

2.4 โรงมหรสพ (อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณะชนเข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติธุระ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม)

รูปที่ 6 ตัวอย่างแสดงอาคารโรงมหรสพ

2.5 โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตังแต่แปดสิบห้องขึ้นไป

รูปที่ 7 ตัวอย่างแสดงอาคารโรงแรม

2.6 อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม (อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ ละครอบครัว) ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
สำหรับอาคารชุดและอาคารอยู่อาศัยรวมที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษจะได้รับการผ่อนผันเรื่องกำหนดเวลาการตรวจสอบคือ
- กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันไม่เกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2555
- รูปที่ 8 ตัวอย่างแสดงอาคารพื้นที่ไม่เกิน 5,000 ตรม.

-กรณีที่มีพื้นที่อาคารรวมกันในหลังเดียวกันเกิน 5,000 ตารางเมตร ให้ทำการตรวจสอบและส่งผลการตรวจสอบก่อนวันที่ 25 ตุลาคม 2553
รูปที่ 9 ตัวอย่างแสดงอาคารพื้นที่เกิน 5,000 ตรม.

2.7 อาคารโรงงานที่สูงกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
รูปที่ 10 ตัวอย่างแสดงอาคารโรงงาน
2.8 ป้ายสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปหรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบน
รูปที่ 11 ตัวอย่างแสดงอาคารโรงแรม

2.9 สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
รูปที่ 12 ตัวอย่างแสดงอาคารโรงแรม

ทั้งนี้ อาคารทั้ง 9 ประเภท (เว้นแต่อาคารตามข้อ 2.6 ที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ) ต้องถูกตรวจสอบและส่งรายงานการตรวจสอบก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2550
สำหรับกรณีพื้นที่นอกเขตควบคุมอาคาร (พื้นที่ที่ยังไม่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือพื้นที่นอกเขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง) อาคารที่ต้องทำการตรวจสอบมี 4 ประเภท ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคน และโรงมหรสพ

2.2 บทบาทของกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
กฎหมายได้กำหนดให้เจ้าของอาคารต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม แล้วแต่กรณี ต้องทำการตรวจสอบสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
(1) ความมั่นคงแข็งแรงอาคาร ได้แก่ การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นที่อาคาร การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร การชำรุดสึกหรอของอาคาร การวิบัติของโครงสร้างอาคาร การทรุดตัวของฐานรากอาคาร
รูปที่ 13 แสดงการเริ่มวิบัติของคาน ค.ส.ล.

(2) ระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร ได้แก่ ระบบบริการและอำนวยความสะดวก เช่น ระบบลิฟต์ ระบบบันไดเลื่อน ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบประปา ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน ระบบจัดการมูลฝอย ระบบระบายอากาศ ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย เช่น บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน ระบบลิฟต์ดับเพลิง ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง ระบบป้องกันฟ้าผ่า รูปที่ 14 แสดงระบบอัดลมในบันไดหนีไฟ

(3) สมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร ได้แก่ สมรรถนะบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ สมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
สมรรถนะระบบแจ้งสัญญาณเหตุเพลิงไหม้
รูปที่ 15 แสดงบันไดหนีไฟในอาคาร

(4) ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร ได้แก่
แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบ
อาคาร

รูปที่ 16 แสดงผังอพยพหนีไฟ

3.สรุป
คนส่วนใหญ่มักมีข้อสงสัยและตั้งคำถามว่า เจ้าของอาคารจะได้ประโยชน์อะไรจากการตรวจสอบสภาพอาคารกฎหมายบังคับเกินความจำเป็นหรือไม่ คงต้องพิจารณาถึงที่มาของการออกกฎหมาย แนวความคิดและวัตถุประสงค์ของกฎหมายก่อน เนื่องจากอาคารจะมีโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ภายในอาคารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชน เช่น ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย ระบบไฟฟ้า ระบบลิฟต์ ฯลฯ ซึ่งระบบต่าง ๆ เหล่านี้ เมื่อมีการใช้งานไประยะหนึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจสอบดูแลและบำรุงรักษา เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา ซึ่งในการใช้อาคารอย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว แม้กฎหมายจะไม่บังคับให้ต้องทำการตรวจสอบสภาพอาคารและบำรุงรักษา แต่ก็เป็นเรื่องที่เจ้าของอาคารควรจะดำเนินการอยู่แล้ว มีหลายกรณีที่เกิดเหตุการณ์อาคารวิบัติ ถล่มหรือไฟไหม้ โดยเฉพาะอาคารสาธารณะที่มีคนเข้าไปใช้สอยเป็นจำนวนมาก แม้จะมีเหตุที่บ่งชี้ว่าโครงสร้างของอาคารเกิดการวิบัติขึ้นแล้ว และจะอันตรายอย่างร้ายแรงถึงขั้นอาคารถล่มหากไม่ได้รับการแก้ไข แต่เจ้าของอาคารก็ไม่ทราบและไม่คาดคิดว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นร้ายแรงเพียงใด หรือกรณีเพลิงไหม้โรงแรมบางแห่งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะมีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ แต่เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ระบบกลับไม่ทำงาน ทำให้ผู้ใช้อาคารไม่ทันได้ระวังตัวและหนีไม่ทัน ได้ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจสอบสภาพระบบต่างๆ ของอาคารได้เป็นอย่างดี

กิตติกรรมประกาศ
ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็บไซต์ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็บไซด์กูเกิลที่ให้ผู้เขียนได้ใช้สำหรับเป็นแหล่งเครื่องมือหลักในการสืบค้นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการเขียนบทความฉบับนี้ รวมถึงนักวิชาการและนักปฏิบัติทางการกฎหมายทั้งหลายที่มิได้เอ่ยนามในบทความนี้ที่ได้เสียสละเวลาในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ไว้ในเว็บไซด์ต่าง ๆ
ท้ายที่สุดนี้ผู้เขียนใคร่ขอขอบพระคุณ ดร.เสรีย์ ตู้ประกาย ที่ให้โอกาสผู้เขียนได้ศึกษาเรื่องการผังเมือง จึงทำให้เกิดบทความ ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

เอกสารอ้างอิง
[1] ปีที่พิมพ์ 2551, เทคนิคการตรวจสอบอาคาร.จำนวน 356 แผ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1 .จัดพิมพ์โดย: วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.)

ประวัติผู้เขียน

พ.ต.ท.สักรินทร์ เขียวเซ็น
สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
ตำแหน่งสารวัตรกลุ่มงานฯ(สถาปนิก)กองโยธาธิการ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ